เมนู

อรรถกถาอุปาลิสูตรที่ 9


อุปาลิสูตรที่ 9

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุรภิสมฺภวานิ หิ ได้แก่ มีได้ยาก หาได้ยาก. ท่านอธิบายว่า
ผู้มีศักดิ์น้อยไม่อาจที่จะยึดไว้ได้. บทว่า อรญฺญวนปตฺถานิ ความว่า ป่า
ใหญ่และป่าทึบ ชื่อว่า อรัญญะ เพราะสำเร็จองค์ของความเป็นป่า. ชื่อว่า
วนปัตถะ เพราะเลยละแวกบ้าน เป็นสถานที่หมู่คนไม่เข้าไปใกล้. บทว่า
ปนฺตานิ ได้แก่ ไกลเหลือเกิน. บทว่า ทุกฺกรํ ปวิเวกํ ได้แก่ กายวิเวก
ที่ทำยาก. บทว่า ทุรภิรมํ ได้แก่ ไม่ใช่ยินดีได้ง่าย ๆ. บทว่า เอกตฺเต
แปลว่า ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว. ทรงแสดงอะไร. ทรงแสดงว่า แม้เมื่อ
กระทำกายวิเวกได้แล้ว ก็ยากที่จะให้จิตยินดีในเสนาสนะนั้น . จริงอยู่
โลกนี้มีของเป็นคู่ ๆกันเป็นที่ยินดี. บทว่า หรนฺติ มญฺเญ ได้แก่เหมือน
นำไป เหมือนสีไป. บทว่า มโน ได้แก่ จิต. บทว่า สมาธึ อลภมานสฺส
ได้แก่ ผู้ไม่ได้อุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ. ทรงแสดงอะไร. ทรง
แสดงว่า วนะทั้งหลาย เหมือนจะกระทำจิตของภิกษุเช่นนี้ให้ฟุ้งซ่าน
ด้วยสิ่งใบหญ้าและเนื้อ เป็นต้น และสิ่งน่ากลัวมีอย่างต่าง ๆ. บทว่า
สํสีทิสฺสติ ได้แก่ จักจมลงด้วยกามวิตก. บทว่า อุปฺปิลวิสฺสติ ได้แก่
จักลอยขึ้นเบื้องบนด้วยพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก.
บทว่า กณฺณสนฺโธวิกํ ได้แก่ เล่นล้างหู. บทว่า ปิฏฺฐิสนฺโธวิกํ
ได้แก่ เล่นล้างหลัง. ทั้งสองอย่างนั้น การจับงวงและรดน้ำที่หูสองข้าง
ชื่อว่า กัณณสันโธวิกะ รดน้ำที่หลัง ชื่อว่า ปิฏฐิสันโธวิกะ. บทว่า คาธํ
วินฺทติ ได้แก่ ได้ที่พึ่ง.